รู้จักลักษณะโครงสร้าง ของปลาทะเลเพื่อเป็นความรู้ในเรื่องของสัตว์น้ำทะเลยที่สามารถหาได้ง่ายเเละเข้าใจในตัวของปลาชนิดนั้นๆ ความรู้เพิ่มเติม สำหรับทุกท่านที่เดินสายตกปลาเราจะนำสิ่งดีๆเพื่อมาเผยเเพร่ให้ทุกท่านได้รับความรู้เเบบเเน่นๆเลยเกี่ยวกับสัตว์ทะเล
ลักษณะโครงสร้างของปลาทะเลเป็นอย่างไรเราไปดูกัน
ส่วนหัว เริ่มตั้งแต่ปลายสุดของจะงอยปากจนถึงสวนริมสุดของกระดูกกระพุ้งแก้มเป็นส่วนที่รวมอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆได้แก่ตาหูปากจมูกในปลาบางชนิดจะมีหนวดด้วย
ลำตัว อยู่ถัดจากส่วนปลายสุดของกระดูกกระพุ้งแก้มจนถึงระดับรูทวารเป็นส่วนที่มีเกล็ดปกคลุม(ในปลาที่มีเกล็ด)มีเส้นข้างตัวมีครีบช่วยในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวเป็นที่ตั้งของระบบอวัยวะต่างๆได้แก่ระบบทางเดินอาหารระบบทางเดินโลหิตระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
หางเป็นส่วนสุดท้ายของตัวปลาโดยเริ่มจากรูทวารเป็นต้นไปจนจรดปลายสุดของลำตัวมีครีบหางช่วยในการว่ายน้ำและช่วยในการทรงตัว
รยางค์ของปลา
รยางค์ของปลาหรือที่เรียกว่าครีบ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่พยุงตัว และช่วยในการเคลื่อนที่ของปลาไปในทิศทางต่างๆแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ครีบเดี่ยว และครีบคู่
ลักษณะของโครงสร้างทั่วไปของปลา
ครีบเดี่ยว เป็นครีบที่อยู่ในกลางลำตัว ไม่มีคู่ ได้แก่ ครีบหลัง ครีบก้น ครีบหาง ครีบฝอย และครีบไขมัน เป็นครีบที่ช่วยให้ปลาตั้งอยู่ในแนวตรงในน้ำได้โดยไม่เอียงซ้ายขวา
1.ครีบก้น อยู่ระหว่างรูทวารและครีบหาง ปลาส่วนใหญ่มีอันเดียว ยกเว้นในกลุ่มปลากระเบนที่ไม่มีครีบก้น ครีบก้นของปลาบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น ได้แก่ การเปลี่ยนเป็นอวัยวะส่วนส่งเชื้อสืบพันธุ์ในปลาเพศผู้
2.ครีบหาง เป็นครีบที่ช่วยในการเคลื่อนที่อยู่ทางส่วนท้ายสุดของลำตัวมี 1 อันครีบหางของปลาแต่ละชนิดจะมีพัฒนารูปแบบของครีบหางที่แตกต่างกันออกไปให้เหมาะสมกับพฤติกรรมเช่น ปลาไหลและปลากระเบนจะมีครีบหางที่ลักษณะยาวและเหมือนกันทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยไม่มีแพนหางลดรูปลงจนกระทั่งเป็นเส้นยาวเป็นต้น
3.ครีบฝอย เป็นส่วนของครีบหลัง หรือครีบก้นที่แยกออกมาเป็นอันเล็กๆโดยมีก้านครีบอ่อนพยุงไว้ครีบละ 1 อัน ซึ่งจำนวนครีบหอยจะมีเท่ากันทั้งด้านบนและด้านล่างพบได้ในกลุ่มปลาทู ปลาสีกุนและปลาอินทรีย์เป็นต้น
4.ครีบไขมัน อยู่ทางซ้ายของครีบหลังมีเพียงอันเดียวไม่มีก้านครีบพยุงไว้พบในป่าที่มีผิวหนังอ่อน เช่นปลากด และปลาแขยง เป็นต้น
ครีบคู่ เป็นส่วนที่เทียบได้กับแขนขาของสัตว์ชั้นสูงมีไม่เกิน 2 คู่ได้แก่ครีบอกและครีบท้อง
1.ครีบอก อยู่หลังกระพุ้งแก้มหรือหลังช่องเปิดเหงือก ปลาส่วนใหญ่มักใช้ครีบอกเพื่อการพยุงตัว หากมีครีบอกใหญ่มักจะเป็นปลาที่ว่ายน้ำช้าหรือลอยตัวอยู่ที่ เช่น ปลาสิงโตและปลาบางชนิดจะพัฒนาครีบอกให้มีขนาดใหญ่เพื่อช่วยในการว่ายน้ำ
2.ครีบท้อง อยู่ทางด้านล่างของลำตัว ทำหน้าที่ช่วยในการพยุงตัว ครีบท้องของปลาบางชนิดมีการเปลี่ยนรูปไปทำหน้าที่อื่น ได้แก่ การเปลี่ยนรูปเป็นกรวยเพื่อช่วยในการยึดเกาะกับพื้น เช่น ครีบท้องของปลาบู่หรือการเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะที่ช่วยในการสืบพันธุ์ ของปลาเพศผู้ในปลากระดูกอ่อนทุกชนิด รู้ลึกกว่าใคร by badboy